top of page
Writer's pictureSOS-Content Staffs

การลดขยะอาหารในชีวิตประจำวัน : ตอนที่ 1(Food Waste Reduction in Daily Life : Part I)

ขยะอาหารเป็นปัญหาที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก จากการวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่ผลิตขึ้นกลายเป็นขยะอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดภาระทางสิ่งแวดล้อม(environmental burden) เช่น การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากขยะอาหารในแต่ละปีซึ่งมีปริมาณเท่ากับแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการคมนาคม ภาระทางสังคม (social burden) เช่น ปัญหาความหิวโหย ความมั่นคงทางอาหาร (food security) และการขาดสารอาหาร และภาระทางเศรษฐกิจ (economic burden) ทำให้สูญเสียทรัพยากรและพลังงานจำนวนมากเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตอาหารและการทำลายขยะอาหาร เช่น ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี ทรัพยากรดิน น้ำ พลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการเผาขยะอาหาร หรือการฝังกลบขยะอาหาร เป็นต้น


การช่วยกันลดปริมาณขยะอาหารจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนเพื่อช่วยกันลดภาระทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคมและทางเศรษฐกิจดังกล่าวมาแล้วข้างต้น บทความนี้ขอนำเสนอเทคนิคการลดขยะอาหารอย่างง่ายซึ่งทุกคนสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคต่าง ๆ มากมาย โดยในตอนที่ 1 นี้จะนำเสนอ 5 เทคนิคแรก ดังนี้


1. Shop smart เลือกซื้ออย่างฉลาด


การเลือกซื้ออย่างฉลาดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น อย่าซื้ออาหารเกิน

ความจำเป็น บริโภคอาหารที่ซื้อจากการช้อปปิ้งคราวที่แล้วให้หมดก่อน

การไปซื้อครั้งถัดไป ทำรายการซื้ออาหารทุกครั้งและอย่าซื้อของที่อยู่นอก

เหนือรายการที่จดไว้ การไปช้อปปิ้งครั้งละน้อย ๆ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งแทน

การไปครั้งเดียวแล้วซื้อในปริมาณที่มากเกินไป และที่สำคัญอย่าหลงกล

buy 1 get 1 free เป็นต้น

2. Store properly เก็บอาหารให้ถูกวิธี


ในสหราชอาณาจักรพบว่าการเก็บอาหารไม่ถูกวิธีโดยเฉพาะผักและผลไม้ เป็นสาเหตุให้ 2 ใน 3 ของอาหารกลายเป็นขยะอาหาร เช่น การเก็บมันฝรั่ง กระเทียม หัวหอมหรือ หอมแดงในตู้เย็น จะทำให้อาหารเหล่านี้เสียง่ายขึ้น จึงควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ควรแยกอาหารที่ผลิต แก๊สเอทิลีน (ethylene gas) ออกจากอาหารอื่น เนื่องจากแก๊สชนิดนี้ทำให้ผักและผลไม้สุกเร็วก่อนเวลาและทำให้เกิดการเน่าเสีย ผลไม้ที่ผลิตแก๊สเอทิลีน ได้แก่ กล้วย อะโวคาโด มะเขือเทศ แคนตาลูป พีช แพร์ หัวหอม จึงควรแยกผลไม้เหล่านี้ออก จากผักหรือผลไม้ที่ไวต่อแก๊สเอทิลีน ได้แก่ มันฝรั่ง แอปเปิล ผักใบเขียว เบอร์รีและพริกไทย เป็นต้น


3. Learn to preserve เรียนรู้การถนอมอาหาร


การถนอมอาหารเป็นวิธีการเก็บอาหารให้สามารถใช้บริโภคได้ในระยะยาวเป็นภูมิปัญญาที่มีอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นการอบแห้ง ตากแห้ง การแช่แข็ง การหมัก การดอง หรือการทำเป็นอาหารกระป๋อง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะอาหารประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นกิจกรรม สร้างสรรค์ในครัวเรือนได้ด้วย


4. Don’t be a perfectionist ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ


ผู้คนจำนวนมากจะเลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบทางอาหารที่มีลักษณะ สวยงาม สีสันสดใส ไม่มีตำหนิหรือรอยบุบสลาย จนทำให้อาหารบางส่วน ต้องถูกทิ้งไปเพียงเพราะรูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่สมบูรณ์แบบเท่านั้น ปัจจุบันมีร้านค้าหลายแห่งที่จำหน่ายผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีตำหนิเล็ก น้อยแต่ยังมีคุณภาพที่ดีอยู่ในราคาย่อมเยาแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่า สนใจ ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหารคราวถัดไปจึงไม่ควรพิจารณาเฉพาะ ความสวยงามเท่านั้นเพื่อไม่ให้อาหารที่มีตำหนิต้องกลายเป็นขยะไปโดย เปล่าประโยชน์


5. Keep your fridge clutter-free จัดระเบียบตู้เย็น


การบรรจุอาหารจนเต็มตู้เย็นมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้อาหารบางส่วนเน่าเสีย การจัดระเบียบตู้เย็นเพื่อทำให้เห็นอาหารต่าง ๆ ได้ชัดเจน หรือทำให้ ตู้เย็นโล่งบ้างจึงเป็นทางออกที่ดีในการช่วยระบายอาหารเพื่อนำไปบริโภค ก่อนที่อาหารจะเน่าเสีย การเก็บอาหารและการจัดลำดับการนำไปบริโภค ควรใช้หลักการ FIFO (First in First Out) วิธีการนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และลดขยะอาหารได้เป็นอย่างดี



เขียนโดย

คุณลีณา สุนทรสุข


เรียบเรียงโดย

นายศุภชัย​ มงคลนิตย์​ (เอ็กซ์)​

นางสาวอารยา โช (นีน่า)

ภาพโดย

นางสาวกัญญพัชร ชุ่มมะโน (เพลิน)


ข้อมูลอ้างอิง

20 Easy Ways to Reduce Your Food Waste (https://www.healthline.com/nutrition/reduce-food-waste#TOC_TITLE_HDR_22, accessed on 19 Feb 2021)

453 views0 comments

Comments


bottom of page